วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

                                                                            คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รับข้อมูล หรือรับคำสั่ง แล้วนำข้อมูลคำสั่งต่างๆไป เก็บบันทึก ไว้ในหน่วยความจำ และประมวลผลข้อมูลโดยการคำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามคำสั่ง จากนั้นจึงแสดงผลข้อมูลออกมาให้เห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลคำสั่ง และผลที่ได้จากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บบันทึกไว้ได้อย่างถาวร นำมาใช้หรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนาได้อย่างไม่จำกัด
เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยที่ทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่
1 หน่วยรับข้อมูลเข้า(input) ทำหน้าที่รับข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้เครื่องป้อนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง อาจป้อนได้หลายวิธี เช่น บัตรเจาะรู บัตรระบาย สัญญาณจากเทปแม่เหล็ก สัญญาณจากแป้นพิมพ์ เม้าส์ หรือแม้แต่สัญญาณจากเสียงพูด
2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูลมาจากหน่วยรัยข้อมูลคำสั่ง มาทำการประมวลผลตามคำสั่ง แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกไปที่หน่วยความจำเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยแสดงผล หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนย่อยที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ และตรรก
3 หน่วยแสดงผล (output unit)
ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้ จากหน่วยความจำมาแสดงตามที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์ แสดงผล ได้แก่ จอภาพ Printer Plotter ฯลฯ ซึ่งถือว่าจอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน อุปกรณ์แสดงผลที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องพิมพ์ และยังมีอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานใด
4 หน่วยความจำสำรอง (secondary storage) หน่วยความจำนี้เปรียบเสมือนสมุดบันทึกสำหรับเก็บโปรแกรม และข้อมูลเพื่อไว้ใช้ในโอกาสต่อไป หน่วยความจำหลักที่กล่าวมาแล้วนั้น มีขีดจำกัดในการเก็บข้อมูล แต่มีข้อดีตรงเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การอ่าน และบันทึกโปรแกรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ตัวเครื่อง
2 แป้นพิมพ์ (key board)
3 จอภาพ (Monitor)
ประเภทของคอมพิวเตอร์ จำแนกตามขนาดของเครื่อง
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และมีความสลับซับซ้อน
2. เมนเฟรม (mainframe) เป็นขนาดรองลงมา มีแผงควบคุมและอุปกรณ์อื่นๆ สนับสนุน เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก และมีสายเคเบิลต่อถึงกัน ปัจจุบันมีใช้อยู่ในประเทศไทยหลายแห่ง เช่น ตามธนาคารต่างๆ
3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) เป็นขนาดรองลงมาจากเมนเฟรม มีใช้กันตามหน่วยงานขนาดกลาง
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer) หรืออาจเรียกว่า home computer ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบตั้งโต๊ะ และแบบกระเป๋าหิ้ว
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Solftware)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงชุดคำสั่งที่ ผู้เขียนโปรแกรม(Programer) เขียนขึ้นเพื่อป้อนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System Program) เป็นโปรแกรมสำหรับจัดระบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ให้สภาพที่พร้อมจะใช้งาน หรือใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้กันมาก มีอยู่ 2 โปรแกรม คือ โปรแกรม DOS (Disk Operating System) และโปรแกรม WINDOWS
2 โปรแกรมใช้งานหรือโปรแกรมประยุกต์ ( Application Program) เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะต่างๆได้ โปรแกรมประเภทนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมาก จำแนกตามลักษณะงานได้ดังนี้
2.1 โปรแกรมประมวลคำ(Word Processing) ได้แก่โปรแกรมสำหรับการพิมพ์ หนังสือหรือเอกสารต่างๆ
2.2 โปรแกรมฐานข้อมูล (Database) สำหรับจัดการข้อมูล ลักษณะที่เป็นระเบียนบันทึกรายการจำนวนมาก ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับ วัสดุ ครุภัณฑ์
2.3 โปรแกรมกระดาษทำการ(Spread Sheet) ได้แก่โปรแกรมสำหรับ บันทึกรายการในลักษณะเป็นตาราง ที่สามารถคำนวณรายการ และโยกย้ายเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
2.4 โปรแกรมกราฟิค (Graphic) สำหรับการออกแบบ เขียนแบบ เขียนภาพ สร้างภาพต่างๆ